วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วัดภูมินทร์ สุดยอดสถปัตยกกรรมล้านนา Unseen Thailand

วัดภูมินทร์ ตามพงศาวดารเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2138 โดย "พระเจ้า้เจตบุตรพรหมินทร์" เจ้าผู้ครองนครน่าน (ระหว่าง พ.ศ.2134-2156) ซึ่งทรงสร้างพระอารามนี้ หลังจากขึ้นครองนครน่านแล้วเป็นเวลา 6 ปี ซึ่งเป็นสมัยที่ตรงกับ แผ่นดินของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดิมปรากฎชื่อในคัมภีร์เมืองเหนือว่า "วัดพรหมมินทร์" หมายถึง พระพรหมผู้เป็นใหญ่ ตามพระนามเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ก่อนจะเพี้ยนเสียงเป็น "วัดภูมินทร์" ในภายหลัง

วัดภูมินทร์ มีลักษณะ แปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ "อุโบสถและวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันเป็นจตุรมุข" (กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่า เป็นอุโบสถจัตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) มีนาคปั้นสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แท่นอุโบสถไว้กลางลำตัว ตรงใจกลางของอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีนาคปั้นสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แ่ท่นอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว ตรงใจกลางของอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ 4 องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ซึ่งคล้ายเป็นสัญลักษณ์ของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ที่ยังคงปรากฎให้เห็นได้คือ ลักษณะ "พรหมสี่หน้า" ของวิหารหลวงนี้เอง


สถาปัตยกรรมในการสร้างวัดภูมินทร์
สถาปัตยกรรมวัดภูมินทร์ หากพิจารณาเจ้าผู้ครองนครน่านที่เป็นผู้สร้างวัด นับเป็นผู้มีความเลื่อมใสในสถาปัตยกรรมของสุโขทัยเป็นอย่างยิ่ง และมีภูมิปัญญานิยมทางสุโขทัย - อยุธยาอย่างมาก เช่น มีพระนามว่า "เจตบุตรพรหมมินทร์" ซึ่งเป็นพระนามที่แปลกกว่าเจ้าผู้ครองนครน่านองค์อื่นๆ ซึ่งมักเป็นภาษาน่านหรือภาษาเหนือ แต่มีเพียงพระองค์เดียวในยุคนั้น ที่มีนามเป็นภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งแปลว่า "พระพรหมผู้เป็นใหญ่" เช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ที่ตรงกันก็คือ "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" แปลว่า "พระราชาผู้ยิ่งใหญ่" ดังนั้น สถาปัตยกรรมในการสร้างวัดจึงยึดเอา "ไตรภูมิพระร่วง" ที่เขียนโดยพระยาลิไทย พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยเป็นฐานความคิด กล่าวคือ

1. เป็นการแปรรูปเขาพระสุเมรุ (ใช้โบสถ์และวิหารแทน) และมหาสมุทรที่ล้อมรอบ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม : ในส่วนที่เป็นน้ำ ก็ใช้พญานาคเป็นสัญลักษณ์เอาง่ายๆ ดังจะเห็นมีนาค 2 ตัว เลื้อยผ่านตลอดฐานโบสถ์ และเหยียดลำตัวยาวไปตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ บนฐานเตี้ยๆ ซึ่งเป็นขัณฑสีมา ตรงมุมทั้งสี่ มีใบเสมาตั้งอยู่ และแม้ว่ารอบโบสถ์นี้จะไม่ได้สร้างกำแพงล้อมไว้ แต่มุมที่ตั้งใบเสมาทั้งสี่มุมก็ได้ก่อมุมกำแพงไว้เป็นเครื่องชี้แนวเพื่อ สร้างความรูสึกว่า มีกำแพงรอบโบสถ์ และพญานาคไว้ด้วยกัน โดยเหตุที่พญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ ลักษณะของแผนผังจึงเหมือนกับว่ามีสระน้ำสี่เหลี่ยมที่มีโบสถ์อยู่ตรงกลาง

2. เป็นการใช้สัญลักณ์ของภูมิจักรวาล
โบสถถ์วัดภูมินทร์ มีผังเป็นรูป กากบาท จึงมีมุขสี่ด้านซึ่งเปิดตรงเข้าสู่พระพุทธรูปสี่องค์ที่ประดิษฐานอยู่กลาง โบสถ์ ในการวางผังแกนทั้งสองที่ตัดกันมีความยาวไม่เท่ากัน คือแกนทิศตะวันออก-ตะัวันตก สั้นกว่าแกนทิศเหนือ - ใต้ เป็นการใช้สัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลในระดับต่างๆ ส่วนในผัง มีวงแหวนหลายวงซ้อนกันอยู่ ใช้แทนสัญลักษณ์ตั้งแต่ยอดบนสุดจนถึงระดับล่างๆ คือ ยอดบนสุดมีฉัตร 5 ชั้น และต่ำลงมาคือหลังคาซ้อน 5 ชั้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนทวีปและมหาสมุทรในภูมิจักรวาล สลับกันตามคติพุทธ

หมายเหตุ - ในคติฮินดู : มีทวีปล้อมเขาพระสุเมรุ 6 ทวีป อยู่ตรงมุมอีก 4 ทวีป รวมเป็น 10 ทวีป - ในคติพุทธ : มีทวีปล้อมเขาพระสุเมรุ 7 ทวีป และทวีปออกไปอีก 4 มุม ตรงกับ ทิศเหนือ(อมรโคยานทวี) ทิศตะวันออก(บุพวิเหทวี) ทิศตะวันตก(อุตตรกุรุทวีป) และทิศใต้(ชมพูทวี)

3. เป็นการเปรียบเป็นมหานทีสีทันดร
สำหรับช่อฟ้า ที่ใช้เป็นรูปหัวพญานาคกำลังเลื้อยลงมาเป็นชั้นๆ จนถึงชายคาด้านล่างสุด แล้วมีทวยไม้สลักเป็นนาคค้ำยันไว้ สัญลักษณ์ที่เรียงกันลงมาเช่นนี้ เปรียบเสมือน สายน้ำที่กำลังไหลจากภูเขาที่เป็นจุดศูนย์กลางลงสู่เบื้องล่าง จนกระทั่งถึงฐานโบสถ์ ซึ่งมีพญานาคใหญ่ 2 ตัวปรากฎอยู่ อีกนัยหนึ่งคือแทนมหานทีสีทันดรอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นที่รวมของน้ำทั้งหมด ซึ่งไตรภูมิพระร่วงกล่าวไว้ว่า แม้แต่ครุฑที่มีกำลังมหาศาลก็สุดกำลังบิน

อีกอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดภูมินทร์ที่สวยงามก็คือ บานประตูของวิหารทั้ง 4 ด้าน ทำด้วยกระดานไม้สักกว้างใหญ่ เมื่อปิดประตูทั้งสองบานเข้าหากัน จะเห็นเป็นลวดลายแกะสลักเป็นลายกนก รูปท้าวเวสสุวัณแผลงฤิทธิ์และรูปสัตว์ต่างๆ ทั้งจตุบาทและทวิบาท แล้วลงรักปิดทองอย่างวิจิัตร ยากที่ช่างสมัยนี้จะทำได้

ปริศนาธรรมในองค์ประกอบวัดภูมินทร์
นอกจากสถาปัตยกรรมล้านนาที่สวยงามดังกล่าวแล้ว วัดภูมินทร์ยังแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม ไว้อย่างลึกซึ้งคือ
1. พื้นดินชั้นล่างสุดรอบพระวิหาร : เปรียบเสมือนมนุษยภูมิหรือมหาชาลัยชั้นที่หนึ่งเรียกว่า "ชลสาคร"
2. พื้นชั้นที่สอง : เปรียบได้กับ "สังสารสาคร" หรือทะเลแห่งสังสารวัฎ คือการเวียนเกิดเวียนตาย
3. "ช่องประตูโขง" ใต้ท้องพญานาค : เชื่อกันว่า หากใครได้ลอดผ่านแล้วจะมีความสวัสดีในชีวิต หากเป็นคนต่างถิ่นจะได้กลับมาเยือนเมืองน่านอีกครั้ง
4. "พญานาคราชคู่" : ทำหน้าที่เป็นพาหนะว่ายข้ามทะเลแห่งวัฏสงสารและเทินพระวิหารไว้ จึงเปรียบเสมือนเรือสำเภาทองที่จะนำพามนุษย์ข้ามพ้นโอฆสงสารไปได้
5. "ซุ้มประตูโขง" : ทำสมมุติให้เป็นแดนทวยเทพ โดยจำลองเป็น 'เขาพระสุเมรุ' ล้อมรอบด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ั้ทั้งเจ็ด ซึ่งจะต้องผ่านแดนนี้ก่อนเข้าสู่แดนแห่งพุทธะ
6. เสาพระวิหารสี่ต้นด้านใน : เปรียบเสมือน 'อริยสัจสี่ประการ' ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
7. "ตัวเหงา" : ซึ่งเรียกศิลปกรรมล้านนาที่ใช้เป็นองค์ประกอบของบันไดนิยมสร้างในศาสนสถาน
8. เสาวิหารด้านนอกแปดต้น : เปรียบได้กับ 'อริยมรรคแปด' หนทางแห่งการดับทุกข์ ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
9. พื้นที่ว่างบริเวณนอกก่อนถึงเสาทั้งแปดต้น : ได้แก่ ชลาศัยชั้นที่สาม เรียกว่า 'นัยสาคร'
10. พื้นที่ว่างบริเวณด้านในติดกับเขาพระสุเมรุ : ได้แก่ ชลาศัยชั้นที่สี่ เรียกว่า 'ญาณสาคร'
11. พระธาตุเจดีย์ : เปรียบเหมือน "เขาพระสุเมรุ" แกนกลางของจักรวาล สร้างพระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปทิศแห่งทวีปทั้งสี่ ซึ่งเปรียบได้กับ 'พรหมวิหารสี่' ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

้วัดภูมินทร์ จึงเป็นพระอารามขนาดเล็กที่ทรงคุณค่าดังเพชรน้ำเอกของพุทธศิลป์ล้านนา และคือเพชรประดับยอดมงกุฎพุทธศิลป์เมืองน่าน จึงทำให้ัวัดภูมินทร์เป็นวัดในต่างจังหวัดวัดแรกที่มีภาพประดับบนธนบัตรของ ไทย ได้รับการตีพิมพ์ภาพพญานาคราชคู่เทินพระวิหาร บนธนบัตรไทยฉบับละหนึ่งบาท ตั้งแต่แผ่นดินรัชกาลที่แปดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อเกือบร้อยปีก่อน อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาตราบจนวันนี้
แผนที่วัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น