วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หนีร้อนไปเที่ยวป่าใกล้เมืองน่าน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรน่าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรน่าน จังหวัดน่าน
ท่องเที่ยวเชิงเกษตรน่าน จ.น่าน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม (Agrotourism) เป็นรูปแบบใหม่ของการท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทย ที่จะท้าให้มีการกระจายรายได้เข้าไปยังท้องถิ่นอย่างแท้จริงด้วย การน้านักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในชุมชนภาคเกษตรกรรม เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน และศึกษาหาประสบการณ์ ความรู้ในเรื่อง “เกษตรกรรม” ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง เกษตรกรรมแผนใหม่ เกษตรกรรมผสมผสาน หรือเกษตรกรรมทางเลือกที่ปลอดสารเคมีก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มาจากสังคมเมือง หรือสังคม อุตสาหกรรม เมื่อได้เข้ามาสัมผัสกับสังคมเกษตรกรรม จะได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ ความเพลิดเพลิน และในโอกาสเดียวกัน ก็จะได้รับความรู้ ประสบการณ์ที่แตกต่างจากชีวิตประจ้าวัน ที่ใกล้ชิดธรรมชาติ สงบ เรียบง่าย อีกด้วย

การพักแรมในหมู่บ้านเกษตรกรรม(Homestay) ว่า เป็นสิ่งที่น่าสนใจ สามารถจะพัฒนาให้มีการจัดการที่เหมาะสม จะท้าให้การด้าเนินกิจกรรมดังกล่าว กระจายรายได้ไปสู่ชาวบ้านในชุมชนเกษตรกรรมได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม

การจัดการท่องเที่ยวแบบ Agrotourism
ในแนวคิดของวิทยากรได้เน้นชัดเจนว่า มิใช่เป็นแนวทางของ Eco-tourism หรือ Soft-tourism แต่อยู่ในเงื่อนไขความเป็นจริง ที่ว่า หากไม่ค้านึงถึงสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และระบบนิเวศแล้ว การด้าเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบนี้ก็จะท้าลายตัวของตัวเองลงอย่างแน่นอน

ความเป็นมาของการจัดการท่องเที่ยวแบบ Agrotourism ในประเทศเยอรมัน เกิดจากการที่ชาวชนบทในประเทศเยอรมัน ต้องการจะด้าเนินกิจกรรมบางอย่างที่รื้อฟื้นวัฒนธรรมเก่าแก่ขึ้นมาเพื่อความ ภาคภูมิใจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดเทศกาล งานละเล่นต่างๆแบบโบราณขึ้น เมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆดังกล่าว ก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชม เกิดการเข้าพักแรม ในบ้าน หรือฟาร์มของตน นักท่องเที่ยวจากในเมืองซึ่งมีชีวิตแบบชุมชนเมือง มีความต้องการสัมผัสกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเป็นธรรมชาติ ต้องการเรียนรู้ในเรื่องการดูแลวัวและฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะได้รับความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวชนบท และการดูแลกิจการโคนมแล้ว ยังเป็นการพักผ่อนที่ดี เกิดความสบายใจ และ ประทับใจ ในความมีน้้าใจไมตรีของชุมชนชนบท อีกด้วย

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรน่าน จ.น่าน
แนะนำเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรน่าน

จังหวัดน่านเป็นเมืองที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และอุดมไปด้วยทรัพยากรภูเขา ป่าไม้ แหล่งต้นน้้าและธรรมชาติที่สวยงาม มีแหล่งชุมชนเกษตรที่แสดงให้เห็นถึงวิถีการด้าเนินชีวิตวัฒนธรรมขนบ ธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชนบทที่มีอยู่หลายเผ่าพันธุ์ และกิจกรรมการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรที่มีความหลากหลาย เช่น การท้านาข้าว การปลูกพืชไร่ สวนผลไม้ สวนสมุนไพร การเลี้ยงสัตว์ การประมง การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งจะผสมกลมกลืนกับธรรมชาติที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม เกษตรกรรวมกลุ่มผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากไร่นา ดังนั้นการส่งเสริมท่องเที่ยวตามสถานที่ดังกล่าวนั้นจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ จะให้ความรู้ ให้ประสบการณ์แก่นักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้จากการจ้าหน่าย สินค้า และค่าบริการในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นชนบทให้เกิดประโยชน์ และเป็นการช่วยแก้ปัญหาแรงงานที่ว่างงานสู่ชนบท ในสภาพที่เศรษฐกิจตกต่ำ

โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดน่น ทั้งหมด 4 แห่ง คือ

1. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านมณีพฤกษ์ บ้านมณีพฤกษ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11 ต้าบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าลั๊วะ สภาพภูมิประเทศที่ตั้งหมู่บ้านเป็นภูเขาสูง ตั้งอยู่ในระดับความสูงที่ 1,200 – 1,400 เมตร จึงมีสภาพอากาศหนาวเย็น มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและประเพณีประจ้าของชนเผ่า อาชีพหลักของชาวบ้านที่นี่ คือ การปลูกข้าวไร่ ปลูกกะหล่้าปลี ไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ , สาลี , พลัม อาชีพเสริมที่ใช้เวลาว่างทำ คือ ทอผ้าใยกันชง

นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ชมดอก ชมพูภูคา ต้นเสี้ยวดอกขาว น้ำค้างแข็ง(แม่คะนิ้ง) ถ้ำผาผึ้ง น้ำตก จุดชมวิว ชมทะเลหมอก(ดอยผาผึ้ง)และสัมผัสบรรยากาศที่หนาวเย็น ในอดีตเคยเป็นสมรภูมิการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จึงมีทั้งที่ตั้งฐานปฏิบัติการของทหาร และำถ้ำที่หลบซ่อนของสหาย ซึ่งจะเที่ยวหาดูได้ในพื้นที่รอบๆหมู่บ้านมณีพฤกษ์นี้

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
2. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านสันเจริญ บ้าน สันเจริญ หมู่ที่ 6 ต้าบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของชนเผ่าเมี่ยน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากมณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณสวนยาหลวง หรือยอดภูสันในปัจจุบัน เดิมมีอาชีพปลูกฝิ่นบนดอยสวนยาหลวง ปัจจุบันชาวบ้านปลูกข้าวไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และลิ้นจี่ ทดแทนฝิ่น โดยเฉพาะการปลูกกาแฟพันธุ์อะราบิก้า ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตดี รายได้ต่อเนื่องกันหลายปี จึงพากันปลูกกาแฟ ทดแทนพืชไร่อื่นๆ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกกาแฟบนภูสันมีประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งปลูกตามเชิงเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 – 1,000 เมตร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สวนยาหลวง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี เกษตรกรรวมกลุ่มจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีการแปรรูปกาแฟ เป็นกาแฟผงสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย ชิมกาแฟสดจากไร่ การเก็บเกี่ยวกาแฟในไร่ และขึ้นไปชมทัศนีย์ภาพบนยอดดอยสวนยาหลวง ด้านวัฒนธรรมการเกษตรแบบดั้งเดิม คือการเก็บเกี่ยวข้าวไร่

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเช่น น้ำออกรู น้ำตกภูสัน การอนุรักษ์พันธุ์ปลา ต้นต๋าว รวมไปถึงการอนุรักษ์ผืนป่าของชาวบ้าน นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าเมี่ยน

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านสันเจริญ อ.ท่าวังผา จ.น่าน

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านสันเจริญ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
3. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตาบลเรือง ตำบลเรือง อ.เมือง ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองน่าน ประมาณ 5 กิโลเมตรมีลักษณะพื้นที่เป็นป่าไม้ ภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารและมีลำห้วยผ่านหลายสาย สภาพพื้นที่แบ่งเป็นพื้นที่ราบร้อยละ 30 พื้น ที่ดอนร้อยละ 10 พื้นที่ลาดเชิงเขาและภูเขาร้อยละ 60 ป่าห้วยหลวงมี เนื้อที่ไม่ต่้าว่า 15,000 ไร่ ซึ่งทางราชการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติสภาพ ป่าห้วยหลวงเป็นป่าดิบชื้น ประกอบด้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ มีต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มากมาย เป็นอยู่อาศัยของสัตว์ป่ามากมาย เช่น เก้ง หมูป่า เลียงผา เป็นต้นชาวบ้านพึ่งพาป่าห้วยหลวงอย่างเข้าใจสามารถอนุรักษ์ป่าผืนนี้มาอย่าง ต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการจัดการสวนเมี่ยง การหาอาหารป่า ตลอดจนยาสมุนไพร อาจกล่าวได้ว่า ป่าห้วยหลวงเป็นหม้อยาขนาดใหญ่ที่สามารถน้ามาบ้ารุงรักษาคนได้อย่างดี เต่าปูลู ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหายาก ถูกจัดให้อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

วิถีชีวิตชาวตำบลเรือง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และเมี่ยงเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส้าคัญของต้าบลเรือง “ ต้นเมี่ยง คือ ต้นเงินต้นทองของชาวตำบลเรือง ” จากชื่อเสียงเกี่ยวกับความเข้มแข็งของชุมชน และศักยภาพด้านความอุดมสมบูรณ์ของป่า วิถีชีวิตของคน กับป่า ที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การการท่องเที่ยวจึงเน้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและอนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางธรรมชาติ กิจกรรมการเดินป่า เที่ยวชมน้ำตกดอยหมอก พักแรมค้างคืนสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดชิมอาหารป่า (หลามปลี หลามหวาย หลามผักกูด หลามยาสมุนไพร)

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลเรือง อ.เมือง จ.น่าน

เต่าปูลู ท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลเรือง อ.เมือง จ.น่าน

4. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตาบลศิลาเพชร ตำบล ศิลาเพชร อ.ท่าวังผา เดิมชื่อเมืองล่าง ตั้งขึ้นโดย พญาภูคา เมื่อ ปี พ.ศ.1820 เป็นตำบลที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นต้นก้าเนิดของผู้ครองนครน่าน สามารถเดินทางเข้าสู่ต้าบลทางถนนสายปัว - บ้านน้้ายาว อยู่ห่างจากที่ว่าการอ้าเภอประมาณ 12 กม. เป็นถนนลาดยางตลอดเส้นทาง และสามารถเข้าสู่ตำบลได้อีก 2 ทาง คือทางต้าบลยม อ้าเภอท่าวังผา และทางอำเภอสันติสุข มีลักษณะที่ตั้งของต้าบลเป็นที่ราบติดกับเชิงเขา (ดอยภูคา) พื้นที่เป็นป่าไม้ ภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นแหล่งก้าเนิดของต้นน้้า ลำธารและที่มาของ น้าตกศิลาเพชร (ชื่อของต้าบล) น้าตกวังต้นตอง และเป็นเส้นทาง กิจกรรมการเดินป่า

ในแหล่งท่องเที่ยว ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยลื้อ ซึ่งมีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และประมง) จนเกิดมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสามพี่น้อง (โดยปราชญ์ชาวบ้าน) และแปลงไร่นาสวนผสม ที่ชนะเลิศในปี 2551 และปี 2552 ตามลำดับ จัดให้เป็นกิจกรรมฐานการศึกษาเรียนรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว สำหรับงานด้านหัตถกรรมและการแปรรูปผลผลิต ได้มีการรวมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผลิตผ้าทอลายน้าไหลไทลื้อ ที่เป็นศิลปะการทอผ้าด้วยมือ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหาร กลุ่มผู้สูงอายุรวมกลุ่มท้าไม้ประดิษฐ์ เครื่องปั้นดินเผาหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ผืนที่นาจะแปรสภาพไปเป็นแปลงปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ เพื่อจ้าหน่ายและต้อนรับแขกผู้มาเยือน

ชุมชนไทลื้อ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรศิลาเพชร
อ.ท่าวังผา จ.น่าน
ท่องเที่ยวเชิงเกษตรศิลาเพชร
อ.ท่าวังผา จ.น่าน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน โทร: 054-710246 แฟกซ์ 054-757278 Email: nan@doae.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น