วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติแม่จริม



ล่องแก่งน้ำว้า

ล่องแก่งน้ำว้า
อุทยานแห่งชาติแม่จริม ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.แม่จริม อ.เวียงสา จังหวัดน่าน
ทิศเหนือ จด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
ทิศใต้ จดลำน้ำปี้ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก จดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก จด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1243 ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ลักษณะภูมิประเทศ : เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ความสูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 300 เมตร และสูงสุด 1,652 เมตร พื้นที่มีความลาดชัน แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคคือ ลำน้ำว้า

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า : สัตว์ป่าที่เป็นจุดเด่นของอุทยานแห่งชาติแม่จริม คือ เลียงผา เสือ และนกยูง ส่วนสัตว์ที่พบเห็นได้มาก ได้แก่ เลียงผา หมี และเก้ง

จุดเด่นที่น่าสนใจ : ลักษณะเด่นของพื้นที่ทางธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติแม่จริม มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และลำน้ำว้าที่สามารถล่องแก่งได้อย่างสนุกสนาน ทั้งยังมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่น่าศึกษา และความงดงามทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น นักท่องเที่ยวสามารถประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวได้หลายอย่างด้วยกัน อาทิ ปิคนิค ขับรถชมทัศนียภาพ เดินป่าศึกษาธรรมชาติทั่วไป ตั้งแคมป์พักแรม ขี่จักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ ล่องเรือหรือแพ พักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ สามารถว่ายน้ำ อาบแดดและเที่ยวชมน้ำตกได้อีกด้วย สำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมการดูนก อุทยานแห่งชาติแม่จริมมีนกนานานานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย และที่นี่ยังสามารถศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักฐานทางโบราณคดี รวมทั้งวัฒนธรรมของชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่


ล่องแก่งน้ำว้า

ล่องแก่งน้ำว้า
กิจกรรมล่องแก่งน้ำว้า : กิจกรรมล่องแก่งน้ำว้าจัดว่าเป็นไฮไลท์ของที่นี่ก็ว่าได้และเป็นที่ขึ้นชื่อ ลือชาถึงความสวยงามของสองฝั่งริมลำน้ำว้า การล่องแก่งก็มีระดับ 2 - 4 มีการเซฟตี้ความปลอดภัยดี ล่องได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และเป็นแก่งที่ล่องได้ตลอดปี ด้วยความยาวของเส้นทางล่องแก่งประมาณ 80 กม. ประกอบด้วยแก่งน้อยใหญ่กว่า 100 แก่ง ที่ต้องใช้เวลาถึง 3 วัน 2 คืน ความท้าทายที่มีให้ลิ้มลองทุกระดับ ตั้งแต่ระดับน้ำไหลเอื่อยๆ กระแสน้ำเร็วแรง มีเวฟ (wave) กระแทกกระทั้น มีแก่งคดเคี้ยวรูปตัว s ไปจนถึงแก่งโหด ที่มีความยากในระดับ 5 เลยทีเดียว
โปรแกรมตัวอย่าง :
วันที่ 1 : เดินทางตอนกลางคืน กรุงเทพฯ - น่าน
วันที่ 2 : เดินทางจาก จ.น่าน ไป บ้านสบมาง บ่าย เริ่มต้นล่องแก่ง พักแรมในป่า
วันที่ 3 : ผจญภัยกับสารพัดแก่งกันแบบเต็มๆ ตลอดวัน พักแรมในป่า
วันที่ 4 : ล่องแก่งช่วงสุดท้ายมาขึ้นที่่ อ.แม่จริม เดินทางกลับเข้าสู่ จ.น่านในตอนเย็น และเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในตอนกลางคืน

สำหรับคนที่มีเวลาน้อย หรืออยากล่องแก่งแบบชิลๆ ไม่เน้นโหด มันส์ ฮา มีโปรแกรมทางเลือกสำหรับล่องแก่งเฉพาะตอนกลาง-ล่าง ใช้เวลาแค่ ครึ่งวัน ไม่ต้องค้างคืนในป่า ท่านสามารถเริ่มต้นที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม (แก่งหลวง น้ำว้าตอนล่าง) มาถึงบ้านหาดไร่ อ.เวียงสา ใช้เวลาแค่ครึ่งวัน ล่องสบายๆ ได้ทั้งแพยางและแพไม้ไผ่

ฤดูที่เหมาะสมการท่องเที่ยว : อุทยานแห่งชาติแม่จริม
สามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ท่านสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวช่วงใดก็ได้ แต่เฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน จะเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวที่สุด

สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับล่องแก่งในลำน้ำว้า คือ
เดือนมิถุนายน กรกฎาคม น้ำแรง แก่งเชี่ยว ท้าทายสุดสุด
เดือนสิงหาคมของทุกปี จะเป็นช่วงปิด งดกิจกรรมล่องแก่ง
เดือนกันยาน-เดือนมกราคม ยังคงล่องแก่งได้สนุก น้ำจะน้อย ลดความรุนแรงลง แต่น้ำจะเริ่มใส และอากาศเย็นสบาย

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
1. เส้นทางศึกษาธรรมชาติชบาป่า : "ชบาป่า" เป็นชื่อที่สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ ทรงพระราชทาชื่อให้กับพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งในสกุลชบา (MALVACEAE) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Urena lobata Linn ดอกสีชมพู บานในราวเดือนพฤศจิกายน เป็นพืชสมุนไพรที่มีค่ายิ่ง
2. เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติแม่จริม : มีเจ้าหน้าที่นำทางให้รายละเอียดข้อมูลของผืนป่าซึ่งผ่านสถานีต่างๆถึง 9 สถานี ดังนี้ สถานนีที่ 1 เต็งรังกันไฟ, สถานนีที่ 2 การทดแทน, สถานีที่ 3 กษัยการ (การกัดเซาะ), สถานีที่ 4 เกื้อกูล, สถานีที่ 5 ไตรลักษณ์, สถานีที่ 6 เป้ง, สถานีที่ 7 ความเหมือนที่แตกต่าง, สถานีที่ 8 พรมแดนป่า, สถานีที่ 9 นักบุญแห่งป่า นักฆ่าเลือดเย็น
3. เส้นทางปีนผาหน่อ : ผาหน่อเป็นภูเขาหินปูน มีความสูง 824 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นหน้าผาชันเกือบ 90 องศา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการเดินป่าและปีนเขา หากขึ้นถึงยอดจะสามารถมองเห็นทิวทิศน์ที่สวยงามได้รอบด้าน ในผาหน่อ พบถ้ำที่เป็นที่อยู่ของค้างคาว และเลียงผา บริเวณหน้าผาพบภาพเขียนโบราณเป็นรูปเรขาคณิตและรูปคล้ายผู้หญิงตั้งครรภ์ ปรากฎอยู่ ระยะทางไป- กลับ ประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง
4. เส้นทางเดินป่าตามลำน้ำแปง : มีจุดเริ่มต้นจากบ้านร่มเกล้า ถึงปากน้ำแปง บรรจบลำน้ำว้า ระยะประมาณ 12 กิโลเมตร เดินทางเลียบตามริมลำน้ำแปงผ่านป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ระหว่างเส้นทางจะพบน้ำตกขนาดเล็ก ถ้ำ หน้าผา ธรรมชาติและพรรณไม้ที่สวยงาม


ลำน้ำว้า

ลำน้ำว้า
การเดินทาง : รถยนต์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติได้ 2 เส้นทางคือ
เส้นทางแรก : จากจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอเวียงสา ตามเส้นทางบ้านไหล่น่าน บ้านบุญเรือง บ้านนาสา เลี้ยวตามถนนไปบ้านท่าข้าม บ้านปากุง บ้านห้วยสอน เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปอำเภอแม่จริม ถึงบ้านห้วยทรายมูล และเลี้ยวขวาเข้าอุทยานแห่งชาติแม่จริม จากปากทางบ้านห้วยทรายมูลระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริม ประมาณ 31 กิโลเมตร
เส้นทางที่สอง : จากจังหวัดน่าน ข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 เลี้ยวซ้ายผ่านวัดพระธาตุแช่แห้ง ไปตามทางหลวงสาย น่าน- แม่จริม ระยะทางประมณ 38 กิโลเมตร จากอำเภอแม่จริมไปตามทางหลวงหมายเลข 1243 (บ้านนาเซีย-บ้านน้ำมวน) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูล เลี้ยวซ้ายเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดน่าน ถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริม 57 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก
: อุทยานแห่งชาติแม่จริม มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวจำนวน 4 หลัง สามารถพักได้ทั้งหมด 40 คน มีเต้นท์พักให้เช่า จำนวน 5 หลัง สามารถพักได้ทั้งหมด 10 คน นอกจากนี้ยังมีสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้กางเต้นท์ อีก 1 แห่ง สามารถพักได้ทั้งหมด จำนวน 50 คน หากท่านสนใจสามารถจองที่พัก บริการด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์ www.dnp.go.th ในอัตราค่าบริการปกติของทางราชการ สามารถทำการจองล่วงหน้าได้ 60 วัน

การติดต่อ อุทยานแห่งชาติแม่จริม สำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000 โทร. (054) 779-402-3 หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760


ลำน้ำว้า

ลำน้ำว้า

แผนที่เส้นทางล่องแก่งน้ำว้า อุทยาแห่งชาติแม่จริม จังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติแม่ จริมประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา ลำธาร และหน้าผาที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป มีเนื้อที่ประมาณ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เด่นคือ การล่องแก่งลำน้ำว้าโดยใช้แพยาง ระยะทาง 19.2 กิโลเมตร เริ่มต้นจากบ้านน้ำปุ๊ อำเภอแม่จริม ถึงบ้านหาดไร่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ความเป็นมา : สืบเนื่องจากนายวิทยา หงษ์เวียงจันทร์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่านได้ทำหนังสือเสนอส่วนอุทยานแห่งชาติว่า พื้นที่ป่าระหว่างอุทยานแห่งชาติดอยภูคาและอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีความอุดม สมบูรณ์มาก มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งสมควรที่จะได้มีการสำรวจเพื่อจัดตั้ง เป็นพื้นที่อนุรักษ์ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติ ส่วนอุทยานแห่งชาติเห็นชอบตามเสนอและรายงานตามลำดับถึงกรมป่าไม้ ซึ่งกรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สัตว์ป่า แหล่งต้นน้ำลำธารและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงได้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1586/2537 ลงวันที่ 13 กันยายน 2537 ให้นายผดุง อยู่สมบูรณ์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานพุม่วง จังหวัดสุพรรณบุรี และหัวหน้าวนอุทยานพระแท่นดงรัง จังหวัดกาญจนบุรี ในขณะนั้นไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้า-ป่าแม่ จริม ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้า ป่าห้วยสาลี่ และพื้นที่ป่าใกล้เคียงในท้องที่อำเภอแม่จริม อำเภอเวียงสาและอำเภอใกล้เคียง จังหวัดน่าน เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ แห่งนี้ด้วย

จากการสำรวจพบว่า สภาพป่าดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ตลอดจนมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อคราวการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2538 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่า สงวนแห่งชาติ ตามรายงานเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป อุทยานแห่งชาติแม่จริมจึงมีสถานภาพอยู่ในขั้นเตรียมการประกาศ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริมอยู่บริเวณริมลำน้ำว้า บ้านห้วยทรายมูล หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน


กรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.3/1469 ลงวันที่ 21 กันยายน 2543 ว่าได้ดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและ ป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พร้อมจัดทำบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบการร่างพระราชกฤษฎีกาและแผนที่ท้าย พระราชกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว และเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/801 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ขอให้กรมป่าไม้จัดตั้งผู้แทนไปร่วมชี้แจงรายละเอียดในการตรวจร่างพระราช กฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าดังกล่าว ในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 และกรมป่าไม้ได้สั่งการให้ นายนฤมิต ประจิมทิศ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 6 ส่วนอุทยานแห่งชาติ ไปร่วมชี้แจงรายละเอียดการประชุมเพื่อตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และที่ประชุมพิจารณาแล้วได้มอบหมายให้ ผู้แทนกรมป่าไม้รับไปแก้ไขรายละเอียดแผนที่ฯให้เป็นไปตามผลการประชุมคณะ กรรมการกฤษฎีกาต่อไป

ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/371 ลงวันที่ 11 เมษายน 2544 แจ้งว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เสร็จแล้ว และขอให้กรมป่าไม้แจ้งยืนยันความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกลับไป ยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรมป่าไม้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ตามหนังสือ ที่ กษ 0712.3/11313 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2544

ต่อมาปี 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้า และป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 31 ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 106 ของประเทศ

ขนาดพื้นที่
272070.16 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่

ภาพแผนที่

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศ ของอุทยานแห่งชาติแม่จริม มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ทอดตัวจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาหลวงพระบางซึ่งทอดตัวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นเขตแนวเขตกั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-1,652 เมตร ความสูงของเทือกเขาจะค่อยลดหลั่นไปทางทิศตะวันตก ยอดดอยที่มีความสูงมากที่สุดคือ ดอยขุนลาน (1,652 เมตร) อยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ รองลงมาคือ ดอยแดนดิน (1,558 เมตร) ดอยขุนน้ำปูน (1,530 เมตร) ดอยขุนคูณ (1,307 เมตร) มีแม่น้ำว้าซึ่งไหลมาจากเทือกเขาหลวงพระบางไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่ เป็นระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร มีลำธาร และลำห้วยที่เป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยทรายมูล ห้วยสาสี่ ห้วยบ่ายน้อย ห้วยบ่ายหลวง ห้วยน้ำพาง ลำน้ำแปง และแต่ละสายล้วนเป็นอู่น้ำของราษฎรรอบพื้นที่

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะ ภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อนซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน เริ่มเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นจากแถบขั้วโลกเหนือมายังประเทศไทย เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2541 วัดที่สถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดน่าน วัดได้ 1,206 มิลลิเมตรต่อปี เฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคมวัดได้ 320 มิลลิเมตร และต่ำสุดในเดือนมกราคม วัดได้ 6 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 – 2541 วัดได้ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเดือนพฤษภาคม วัดได้ 30 องศาเซลเซียส และต่ำสุดเดือนมกราคม วัดได้ 22 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2541 วัดได้ 76 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยสูง สุดในเดือนสิงหาคม 85 เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุดในเดือนมีนาคม 63 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายปี 77 เปอร์เซ็นต์

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
สภาพ ป่าอุทยานแห่งชาติแม่จริมประกอบด้วย ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง สัตว์ป่าที่ เด่น ได้แก่ เสือ เลียงผา หมี และนกยูง
การเดินทาง
รถยนต์
สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติได้ 2 เส้นทาง คือ

เส้นทางแรก จากจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอเวียงสา ตามเส้นทางบ้านไหล่น่าน บ้านบุญเรือง บ้านนาสา เลี้ยวขวาตามถนนไปบ้านท่าข้าม บ้านปากุง บ้านห้วยสอน เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปอำเภอแม่จริมถึงบ้านห้วยทรายมูลและเลี้ยวขวาเข้า อุทยานแห่งชาติแม่จริม จากปากทางบ้านห้วยทรายมูล ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริมประมาณ 31 กิโลเมตร

เส้นทางที่สอง จากจังหวัดน่าน ข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 เลี้ยวซ้ายผ่านวัดพระธาตุแช่แห้งไปตามทางหลวงสายน่าน-แม่จริม ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร จากอำเภอแม่จริมไปตามทางหลวงหมายเลข 1243 (บ้านนาเซีย-บ้านน้ำมวน) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูลเลี้ยวซ้ายเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ระยะทาง 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดน่านถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริม 57

แผนที่เส้นทาง
เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติแม่จริม

ภาพทิวทัศน์

แผนที่ผังบริเวณ
ผังบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่จริม
ผังบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแม่จริม
ผังบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น