หอศิลป์พิงพฤกษ์ อ.เมือง จ.น่าน
|
เพราะครอบครัวเป็นหน่วยย่อยของสังคม หากทุกคนร่วมกันตระหนักในปัญหาดังกล่าว ควรร่วมกันสร้างสรรค์ครอบครัวให้อบอุ่น ด้วยการจัดสรรเวลาให้กับครอบครัว โดยเฉพาะการใช้เวลาอันมีค่าในวันหยุด เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวและการจัดทำกิจกรรมร่วมกัน เพราะการท่องเที่ยวนั้น เป็นทั้งการพักผ่อนและการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
ลานนาทัวร์ริ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้เยาวชนและครอบครัวออก เดินทางท่องเที่ยวในวันหยุด เพื่อสร้างความรักความอบอุ่นขึ้นในครอบครัว และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับชีวิต โดยมุ่งหวังให้ตระหนักว่า "การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต"
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อ.เมือง จ.น่าน
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ถนนผากอง ตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่านเป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น “หอคำ” ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดน่าน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๗ อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติน่าน ลักษณะการจัดพิพิธภัณฑ์จะใช้แสงธรรมชาติเข้าช่วย ตัวอาคารโปร่งมีหน้าต่างโดยรอบ ผู้มาเที่ยวจะรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในบ้านมากกว่าพิพิธภัณฑ์ ทำให้เพลิดเพลินในการเดินชมสิ่งของที่จัดแสดง ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างจัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน รวมทั้งเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด เช่น การสืบชะตา การแข่งเรือ ส่วนชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พบในจังหวัดน่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคเจ้าผู้ครองนครน่าน ชิ้นที่สำคัญ ได้แก่ งาช้างดำ วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่าน เป็นงาช้างข้างซ้าย ยาว ๙๔ เซนติเมตร วัดโดยรอบส่วนที่ใหญ่สุดได้ ๔๗ เซนติเมตร มีน้ำหนัก ๑๘ กิโลกรัม ได้มาในสมัยพระยาการเมืองเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๕ เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ จากเตาเผาบ่อสวก ตำบลสวก อำเภอเมือง น่าน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ ๒๕ พานพระศรีเครื่องเงินลงยา ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท
รายละเอียดติดต่อ โทร ๐ ๕๔๗๑ ๐๕๖๑, ๐ ๕๔๗๗ ๒๗๗๗ หรือwww.thailandmuseum.com
จ๊างน่าน อาร์ตแกลลอรี่ อ.เวียงสา จ.น่าน
|
ปัจจุบันเป็นที่พักของเจ้าสมปรารถนาณน่านยังคงเก็บรักษาของเก่าแก่ประจำ ตระกูล เช่น ดาบงาช้างศึก อาวุธโบราณ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์รัชกาลที่๕ ซึ่งนอกจากภาพถ่ายที่หาดูยากที่อยู่ในห้องรับแขกแล้ว ที่นี่ยังเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้สมัยก่อนไว้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อาวุธโบราณ ถ้วยชามเครื่องแก้ว ตู้เย็นแบบใช้น้ำมันก๊าด เตาีรีดใช้ถ่าน ถ้าเดินไปทางด้านหลังในส่วนของครัว ยังได้เห็นเครื่องครัวสมัยคุณตาคุณยาย และไม่ว่าจะถามถึงข้าวของชิ้นไหน ผู้เป็นเจ้าของเรือนก็มีเรื่องเล่าอันเปี่ยมด้วยความทรงจำเพราะท่านเกิดและ เติบโตมา ณ เรือนไม้หลังนี้
นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชม ควรติดต่อเข้าชมคุ้มล่วงหน้ากับเจ้าบ้าน โทร. 054-710-605, 089-6704291
คุ้มเจ้าราชบุตร อ.เมือง จ.น่าน
|
แหล่งเตาเผาโบราณบ้านบ่อสวก อ.เมือง จ.น่าน
|
เปิดให้เข้าชม : เปิดทุกวันยกเว้นวันพุธ
ตั้งแต่เวลา : ๐๙.๐๐ น. - ๑๗.๐๐ น.
ค่าเช้าชม : คนละ ๒๐ บาท
สอบถามโทร : 054-798046
บ้านกะหล๊กไม้ อ.เวียงสา จ.น่าน
|
หอศิลป์พิงพฤกษ์ ศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองน่าน ตั้งอยู่บนเลข ที่ 16 ม. 10 บ้านนาท่อ ต.ไชยสถาน อ.เมืองน่าน ออกจากตัวเมือง ใช้เส้นทาง ถนนสายน่าน - พะเยา ก่อนถึง กม. ที่ 4 เลี้ยวซ้ายทางเข้าบ้านนาท่อ ไป 1 กม. มีป้ายบอกทางตรงซอย 3 เลี้ยวขวามือก่อนถึงหนองนาท่อ เลี้ยวขวาเข้าไป 50 เมตร สังเกตุด้านขวามือก็จะเห็นหอศิลป์ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับตัวบ้าน เป็นหอศิลป์ที่ เก็บรวบรวมผลงานศิลปะส่วนตัวของ อ.สุรเดช กาละเสน ( ปัจจุบันเสียชีวิต ) เป็นหอศิลป์ขนาดเล็กบนพื้นที่ 1 งาน ภายในบรรยากาศที่อบอุ่น จัดแสดงผลงานของ อาจารย์สุรเดช กาละเสน ศิลปินเจ้าของผลงานจิตรกรรมฝาผนัง ( สมัยใหม่ )ตำนานประวัติศาสตร์เมืองน่าน ในอุโบสถวัดมิ่งเมือง ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในจังหวัด ที่ยังคงเอกลักษณ์รูปแบบศิลปะเมืองน่านในอดีต หอศิลป์พิงพฤษ์ มีที่มา.... จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะ อีกแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 5 กม. เปิดให้ชมและศึกษาทุกวัน บริเวณโดยรอบร่มรื่น น่าพักผ่อน น่าไปเยี่ยมชม หรือมีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานฝีมือการทำผ้ามัดย้อมสีจาก ธรรมชาติ ในยามว่าง เสาร์ อาทิตย์
สอบถามโทร : คุณโสภา กาละเสน โทร. 054-774751, 089-559-7815
พิพิธภัณฑ์จักรยาน(เฮือนรถถีบ) อ.เวียงสา จ.น่าน
|
ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยวัดโป่งคำแห่งนี้ สันณิฐานว่า ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ ซึ่งการก่อสร้างวัดโป่งคำเป็นธรรมเนียมของพุทธศาสนิกชนล้านนา ที่ปรากฏว่า“ มีแม่น้ำที่ไหน มีคนที่นั้น มีคนที่ไหน มีชุมชนที่นั้น มีชุมชนที่ไหน มีวัดที่นั้น”
การก่อสร้างวัดโป่งคำก็เฉกเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อมีผู้คนได้มาร่วมกันจัดตั้งเป็นชุมชนเป็นหมู่บ้าน โดยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านโป่งคำ” เมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๔๔๐ ต่อมาชุมชนบ้านโป่งคำต้องการมีวัดเป็นของตนเอง เพื่อให้เป็นที่ทำบุญ จัดกิจกรรมนันทนาการของชุมชน จึงมีการจัดตั้งวัดขึ้น โดยให้ชื่อวัดและชื่อหมู่บ้านเป็นเดียวกัน คือ “ วัดโป่งคำ”
นอกจากนี้วัดโป่งคำก็ยังมีปูชนียวัตถุ คือ พระประธานในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปแบบปูนปั้น (สันณิฐานว่าเป็นฝีมือสกุลช่างชาวบ้าน) สร้างประมาณเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๐ และยังมีพระพุทธรูปต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันวัดโป่งคำ ภายใต้การปกครองและการบริหารของท่านพระครูสุจิณนันทกิจ ( พระอาจารย์สมคิด จรณธมฺโม ) ได้เปิดวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีความกินดีอยู่ดีและสามารถมีความเป็นอยู่ อย่างยั่งยืนได้ โดยพระอาจารย์สมคิด จรณธมฺโม ได้มองเห็นปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้น และพยายามให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ และแสวงหาทางออกให้กับชุมชน จึงมีการจัดตั้ง “ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนบ้านโป่งคำ” โดยเอาวัดโป่งคำแห่งนี้เป็นเวทีที่แสดงออกและเวทีประชาคมของชุมชน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ เพื่อแสวงหาองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชุมชน เพื่อพัฒนาให้เห็นศักยภาพของชุมชน เช่น กลุ่มย้อมผ้าสีธรรมชาติ,กลุ่มเพาะเห็ด, กลุ่มผู้สูงอายุ รวมกลุ่มเป็นกลุ่มตีเหล็ก, กลุ่มจักสาน,กลุ่มเกษตรอินทรีย์,กลุ่มเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโป่งคำ, กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพัฒนา,กลุ่มเครือข่ายแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
โดยชุมชนบ้านโป่งคำ ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อมาต่อยอดทางความคิดและพัฒนาศักยภาพของชุมชน ทั่งนี้ชุมชนบ้านโป่งคำ ได้น้อมรับพระราชดำรัส เรื่อง “ทฤษฏีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาปฏิบัติภายในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง พอดี พอกิน และพอใจ ในวิถีชีวิตแบบชุมชนพอเพียง โดยชุมชนโป่งคำได้รับโครงการพัฒนา คือโครงการขยายผล โครงการหลวงโป่งคำ ทั่งนี้ชุมชนวัดโป่งคำก็ได้เปิดศูนย์การศึกษา เรียกว่า “ มหาวิทยาลัยชีวิต” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพื่อพัฒนาบุคลากรในชุมชนเขตอำเภอสันติสุข ให้เป็นแกนนำในการขยายเขตพัฒนาต่อไป
อารามเวฬุวัน ศึกษาธรรม เสพศิลป์ พักผ่อนทางใจบนยอดดอย อารามเวฬุวัน ตั้งอยู่บ้านศรีนาม่าน อำเภอสันติสุุข จังหวัดน่าน เล้นทางสันติสุข - หลักลาย ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร มีพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ให้บูชา พร้อมด้วยมุมแสงที่น่าหลงใหลชมถ่ายภาพ พระธาตุแห่งนี้กำลังพัฒนาให้เป็นแหล่งศึกษาธรรม และพักผ่อนทางใจ
ติดต่อสอบถามเรื่องท่องเที่ยวที่ : โทร 085-0545518 เว็บไซต์: www.go2santisuk.com,Email: wuttichai_lonan@hotmail.com
เสาดินนาน้อยและคอกเสือ อ.นาน้อย จ.น่าน
|
จ๊างน่าน ตั้งอยู่ที่ ต.กลางเวียง อ.เวียงสา(ร้านวาสนาพาณิชย์เดิม) โทร. 054-781521 เว็บไซต์ www.chang-nan.com
บ้านกะหล๊กไม้ อ.เวียงสา จ.น่าน ชม ภูมิัปัญญาล้านนาโบราณที่บ้านอาจารย์ระดม อินแสง ผู้ตระหนักค่าของภูมิปัญญาล้านนาโบราณ ถึงขั้นดัดแปลงบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ภาษาล้านนา ดนตรีล้านนา และกะหล๊กไม้ที่ปลาในลำน้ำน่าน “กะ หล๊กไม้” ในอดีตใช้ตีแจ้งเหตุร้าย หรือเป็นสัญญาณนัดแนะผู้คนในชุมชนให้มาทำกิจกรรมร่วมกัน แต่วันนี้ ใช้ตีเพื่อส่งเสียงเรียกปลาให้ขึ้นมากินอาหาร โดยเคาะวันละ 2 เวลา คือก่อนไปโรงเรียนและหลังเลิกเรียน คนในบ้านจะเอาอาหารปลาใส่ตระกร้าที่แขวนไว้กับรอก จากนั้นจึงเคาะกะหล๊กเป็นจังหวะ ปลาที่ได้ยินเสียงเรียกก็จะว่ายมารอกินอาหารจากตะกร้าชักรอก เป็นการสร้างเงื่อนไขไม่ต่างจากการสั่นกระดิ่งให้อาหารสุนัข บ้ากะหล๊กไม้เป็นสัญลักษณ์ของการปกปักรักษาปลาในลำน้ำน่าน ให้มันได้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ เพื่อชาวประมงพื้นบ้านมีอาชีพทำกินอย่างยั่งยืน
ที่บ้านกะหล๊กไม้ ยังเป็นโรงเรียนสอนภาษาล้านนาให้เด็กๆ และชาวบ้านในชุมชนรวมทั้งยังเป็นที่เรียนดนตรีพื้นเมืองสำหรับให้เด็กๆ และเยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่น
เฮือนรถถีบมะเก่า (พิพิธภัณฑ์บ้านจักรยาน) เยือนเฮือนรถถีบมะเก่า หรือ จักรยาน ซึ่งมิใช่สุสานรถจักรยานอย่างที่หลายคนคิด แต่คือพิพิธภัณฑ์จักรยานที่รวบรวมจักรยานเก่าแทบทุกรุ่น มีทั้งจักรยานพับ จักรยานล้อโต จักรยานสองตอน ฯลฯ ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ครอบครัวเต็งไตรรัตน์ เดิมเปิดร้านซ่อมรถจักรยานแลกกับข้าวเปลือกจากชาวบ้านในชนบท ภายหลังได้เป็นตัวแทนจำหน่ายจักรยานนำเข้าจากยุโรปหลายยี่ห้อในจังหวัดน่าน สมัยก่อน การขนส่งจักรยานมาขายจะส่งเป็นชิ้นส่วนย่อย เมื่อมาถึงปลายทางที่จังหวัดน่าน ร้านเต็งไตรรัตน์จึงต้องลงมือประกอบชิ้นส่วนเอง ชีวิตในวัยเด็กของคุณสุพจน์จึงคลุกคลีและคุ้นเคยกับจักรยานเหมือนเป็นของ เล่นชนิดหนึ่ง จากความรู้และทักษะเกี่ยวกับรถจักรยานที่มีมาแต่วัยเด็ก คุณสุพจน์ เต็งไตรรัตน์ จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะเก็บรวบรวมรถจักรยานโบราณที่ผลิตในโซนประเทศยุโรป ไว้ในเฮือนรถถีบ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนรุ่นหลังและเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างต่อ เนื่อง
ติดต่อสอบถามเรื่องท่องเที่ยวที่ : กลุ่มฮักเมืองเวียงสา คุณเฉาก๊วย โทร.089-1928060 คุณหยก โทร. 089-8984404
กลุ่มเยาวชนวัดโป่งคำ อ.สันติสุข จ.น่าน
|
หมู่บ้านประมงปากนาย ปากนาย อ.นาหมื่น จ.น่าน เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่าน หลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ หมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ โอบล้อมด้วยทิวเขาเขียวขจี ชาวบ้านปากนายประกอบอาชีพประมง มีแพร้านอาหารให้เลือกชิมปลาจากเขื่อน เช่น ปลากด ปลาบู่ ปลาคัง ปลาแรด ปลาทับทิม เป็นต้น และบางแห่งทำเป็นห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จากบ้านปากนายสามารถเช่าเรือล่องไปตามลำน้ำน่านสู่อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีทิวทัศน์เป็นป่าเขาสวยงาม เกาะแก่ง เรือนแพ ชาวประมง ในช่วงนอกฤดูฝน จะมีแพลากไปวัดปากนาย สามารถนั่งรับประทานอาหารบนเรือได้ ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง และมีแพขนานยนต์ข้ามฟากไปยัง อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
การเดินทาง อยู่ที่ตำบลนาทะนุง ห่างจากตัวจังหวัด ๙๖ กิโลเมตร ใช้เส้นทางน่าน-เวียงสา-นาน้อย จากอำเภอนาน้อย มีทางแยกไปถึงอำเภอนาหมื่นราว ๒๐ กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๓๓๙ เป็นทางลาดยางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขาอีกประมาณ ๒๕ กิโลเมตร จึงถึงบ้านปากนาย
ที่พัก / ร้านอาหาร
มีบ้านพักของ อบต.นาหมื่นจำนวน 8 หลัง (อยู่ริมเขื่อน)
มีแพพักของเอกชนหลายแพ อาทิ แพสองบัว, แพสินไทย และแพอื่นๆอีกนับสิบแพ
วัดเวฬุวัน อ.สันติสุข จ.น่าน
|
1. ควรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย เพื่อสมาชิกทุกคนในครอบครัวจะได้ท่องเที่ยวพักผ่อนร่วมกันอย่างมีความสุข
2. ควรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่การเดินทางเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบาย เส้นทางไม่ขึ้นเขาสูงชัน ไม่ตอ้งลงเรือฝ่าคลื่นลมไปไกลฝั่ง หรือไม่สมบุกสมบันจนเด็กหรือผู้สูงอายุต้องเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง
3. ควรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น สะดวกในเรื่องที่พัก อาหารการกิน
4. การขับรถเที่ยวที่มีสมาชิกในครอบครัวไปกันพร้อมหน้า ทั้งผู้ใหญ่ เด็กๆ และผู้สูงอายุนั้น ควรวางแผนการขับไว้ล่วงหน้า เช่น คำนวณระยะทางสู่จุดหมายปลายทางว่าต้องใช้เวลากี่ชั่วโมง ควรแวะพักกินอาหารที่ไหน ระหว่างเส้นทาง ควรแวะพักเข้าห้องน้ำตามปั้มน้ำมันที่สะอาดและมีจุดพักเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายและได้เดินยืดเส้นยืดสายบ้าง
5. การจัดโปรแกรมท่องเที่ยวครอบครัวในแต่ละทริปนั้น ไม่ควรย้ายที่พักแรมบ่อยครั้ง เพราะจะสร้างความไม่สะดวกต่อเด็กและผู้สูงอายุ และต้องเสียเวลาไปกับการเก็บสัมภาระขนข้าวของบ่อยครั้ง ทางที่ดีควรหาที่พักเหมาะๆ ปักหลักอยู่ที่นั่น แล้วใช้เวลาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและทำกิจกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว ให้มากที่สุด
6. หากเป็นการเดินทางท่องเที่ยวโดยการซื้อบริการนำเที่ยว ควรเลือกโปรแกรมที่ไม่เหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไป ไม่ควรเลือกโปรแกรมที่อัดแน่นด้วยแหล่งท่องเที่ยว แต่ไปดูไปชมได้ไม่่นานก็ต้องถูกต้อนขึ้นรถเพื่อเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยว ต่อไป สุดท้าย เวลาส่วนใหญ่กลับต้องเสียไปกับการนั่งอยู่บนรถ
ึ7. เมื่อจะเดินทางท่องเที่ยวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว ซึ่งอาจจะมีเพียงครั้งสองครั้งในแต่ละปี หากเป็นไปได้ควรเลือกเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันธรรมดา โดยใช้การลาพักร้อนในช่วงที่เด็กๆ ปิดเทอม หรือในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ที่่ไม่ใช่วันนักขัตฤกษ์ ซึ่งมีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน หรือในช่วงเทศกาลหยุดยาวต่างๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวผู้คนจะออกเดินทางท่องเที่ยวกันมากมาย ต้องแย่งกันกินกันเที่ยว แย่งกันถ่ายภาพตามมุมสวยๆ เพราะฉะนั้น จะเที่ยวทั้งทีอย่างมีความสุขสุดๆ กับครอบครัว ก็ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาดังกล่าว
หอศิลป์ริมน่าน อ.เมือง จ.น่าน
|
เยาวชน เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโตเป็นวัยแห่งการศึกษาเรียนรู้ ทั้งการเรียนรู้ในหลักสูตรในระบบ การศึกษาและการเรียนรู้นอกตำรา การเดินทางท่องเที่ยวนั้น เป็นการเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในโลกกว้างที่ดียิ่ง หากเด็กและเยาวชนที่ได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักการเดินทางท่องเที่ยว และรู้จักที่จะท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้โลกกว้างอย่างถูกวิธี โดยมีการชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่แล้ว เยาวชนผู้นั้นก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีหูตากว้างไกล และเป็นผู้ที่มีนิสัยรักการเรียนรู้อย่างไม่จบสิ้น เรามาช่วยกันส่งเสริมให้พวกเขาเป็นนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ด้วยวิธีง่าย ๆ กันดีกว่า
• การพา เด็กๆ ออกไปเดินทางท่องเที่ยวนั้น วัยที่เหมาะสมนาจะเริ่มจากช่วงอายุ 3 ขวบขึ้นไป เพราะหากเล็กกว่านั้น เด็กๆ อาจบอบบางเกินกว่าจะเดินทางท่องเที่ยวไกลๆ และยังเล็กเกินไปที่จะช่วยเหลือตัวเอง หรือเล็กเกินไปสำหรับการสนใจ เรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ จากการเดินทางท่องเที่ยว
• ควร เลือกแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับวัยของนักเดินทางตัวน้อย ซึ่งมักจะต้องพิจารณาตามความสนใจของเด็กในแต่ละวัย ในปัจจุบันก็มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเรียนรู้ของเด็กๆ รูปแบบทันสมัยมากมาย เช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์เด็ก พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ พิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ เหล่านี้ มิใช่พิพิธภัณฑ์นิ่งๆ แบบโบราณอีกต่อไป แต่มักจะสร้างขึ้นให้เด็กๆ มีโอกาสทดลอง จับต้อง เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส
• หาก พาเด็กๆ ไปเที่ยวทะเลหรือแม่น้ำ ควรเลือกหาดที่มีความลาดชันน้อย ประเภทเดินน้ำลงไป 100-200 เมตร ระดับน้ำก็ัยังไม่ลึก ไม่เป็นอันตราย ซึ่งจะปลอดภัยกับเด็ก และผู้ปกครองก็จะได้ปล่อยให้เด็กสนุกสนานกับท้องทะเลและสายน้ำ ได้อย่างเต็มที่
• พ่อ แม่ ควรมีกิจกรรมเรียนรู้โลกกว้างร่วมกันกับลูกๆ เช่น เ่ล่นน้ำ ก่อปราสาททราย พายเรือด้วยกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และเป็นผู้ชี้แนะแนวทางแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ในการ เดินทางไปสู่เด็กๆ
• พ่อ แม่ควรเป็นแบบอย่างนักเดินทางที่ดีสำหรับลูกๆ เป็นนักเดินทางที่กระหายต่อการเรียนรู้ เป็นนักเดินทางผู้มีความรักในธรรมชาติและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งเสียงดัง ไม่ทำลายธรรมชาติ เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการไม่ทิ้งขยะในแหล่งท่องเที่ยว ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ท่องเที่ยว มีวินัยและเคารพสิทธิของผู้อื่นที่ใช้แหล่งท่องเที่ยวร่วกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น