ที่ประดิษฐานเสาพระหลักเมืองน่าน วัดมิ่งเมือง อ.เมือง จ.น่าน
|
บริเวณวัดมิ่งเมือง อันเป็นที่ตั้งของเสาพระหลักเมืองน่านนั้น สิ่งที่เด่นสะดุดตาคือ ศาลาจัตุรมุขลวดลายปูนปั้นสีขาวอันวิจิตรตระการตา มียอดพรหมสี่หน้าเป็นตัวอาคารประดิษฐานศาลหลักเมือง ถัดเข้าไปเป็นโบสถ์ของวัด ภายในมีจิตรกรรมประวัติความเป็นมาของเมืองน่านตั้งแต่ต้นราชวงศ์ภูมามาจนถึง ปัจจุบัน
เสาพระหลักเมืองน่าน วัดมิ่งเมือง อ.เมือง จ.น่าน
|
วัดมิ่งเมือง สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 14 พฤศจิกายน 2510 ในบริเวณวัดร้างด้านเหนือจากซากวิหารมีเสาพระหลักเมืองน่าน ซึ่งเป็นไม้สักทองเป็นท่อนซุงขนาดใหญ่ 2 คน โอบรอบฝังอยู่กับพื้นดิน
ศาลพระหลักเมืองน่าน วัดมิ่งเมือง อ.เมือง จ.น่าน
|
และต่อมาในปี พุทธศักราช 2527 พระครูสิริธรรมภาณี (เสน่ห์ ฐานสิริ) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง ได้นำศรัทธาชาวคุ้มวัดมิ่งเมือง ทำการรื้อถอนอุโบสถหลังเดิมทั้งหลัง เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก ในการสร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ ได้เคลื่อนย้ายพระประธานองค์เดิม ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2400 เป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐถือปูนและทำการบูรณณะมุกรักปิดทองใหม่ทั้งองค์ คือพระประธานองค์ปัจจุบัน
ทางขึ้นศาลพระหลักเมืองน่าน ด้านทิศเหนือ
ท้าวกุเวร เป็นผู้รักษาทางขึ้น |
ภายในอุโบสถได้ทำการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยคุณสุรเดช กาละเสน (จิตรกรพรสวรรค์พื้นบ้านเมืองน่าน) โดยเขียนแบบอนุรักษณ์ภาพโบราณ เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองน่าน เริ่มตั้งแต่สมัยพญาภูคาเจ้าเมืองน่านองค์ปฐมตั้งอยู่เมือง ณ เมืองย่าง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปัว) มาจนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย …
ทางขึ้นศาลพระหลักเมืองน่าน ด้านทิศตะวันตก
ท้าววิรูปักษ์ เป็นผู้รักษาทางขึ้น |
โดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าผู้ครองเมืองน่านองค์ที่ 57 โปรดให้ฝังเสาประหลักเมืองน่านลง ณ จุดนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2331 หลังจากที่พระองค์ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชการที่ 1 ณ กรุงเทพฯ และร่วมพระราชทานพิธีฝังเสาพระหลักเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อปีพุทธศักราช 2129 พระองค์จึงได้คตินั้นมาฝังเสาพระหลักเมืองน่านขึ้น
ทางขึ้นศาลพระหลักเมืองน่าน ด้านทิศตะวันออก
ท้าววธตรฐ เป็นผู้รักษาทางขึ้น |
นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนเมืองน่าน ควรมีโอกาสได้สักการะเสาพระหลักเมื่องน่าน ในการสักการะเสาพระหลักเมืองน่านนั้น ให้ทำการสักการะให้ครบทั้งสี่ทิศ เพราะในแต่ละทิศนั้นจะมีความมงคลตามความหมายของทิศนั้น โดยเริ่มจาก ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกหลังจากนั้นแล้วจึงเดินชมความงดงามอุโบสถล้านนาของวัดมิ่ง เมือง ที่ทำให้คนน่านได้ภาคภูมิใจว่า ช่างสล่าน่าน เก่งไม่แพ้ใครในล้านนา..
ทางขึ้นศาลพระหลักเมืองน่าน ด้านทิศใต้
ท้าววิรุฬหก เป็นผู้รักษาทางขึ้น |
ทิศเหนือ พระเมตตา ท่านท้าวเวสสุวรรณ ผุ้รักษา
มีอำนาจ มีบารมี มีความมั่นคง มีความกล้าแข็ง เข้มแข็ง เป็นที่เคารพเกรงขาม
ทิศตะวันออก พระกรุณา ท่านท้าวธะตะรัฎฐะ ผู้รักษา
เสน่ห์ เมตตา มหานิยม เป็นที่รัก เป็นที่ปราถนา และชื่นชอบของคนและเทวดา
ทิศใต้ พระมุทิตา ท่านท้าวิรุฬหะกะ ผู้รักษา
มีความมั่งคั่ง ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ ทั้งทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ และบริวาร
ทิศตะวันตก พระอุเบกขา ท่านท้าววิรุปักษ์ ผู้รักษา
มีความสงบ ร่มเย็นเป็นสุข มีสันติภาพ ภราดร เป็นที่เคารพ นับถือ เชื่อถือ
ลวดลายปูนปั้น หน้าบรรณศาลพระหลักเมืองน่าน ด้านที่ประดิษฐาน ตราสัญลักษณ์ทรงครองราชย์ ครบ 60 ปี
|
ลวดลายปูนปั้น หน้าบรรณอุโบสถวัดมิ่งเมือง ฝีมือสล่า(ช่าง)น่าน
|
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองน่าน โทร. 054-750247, 054-751169, 084-6171542
สถานีตำรวจท่องเที่ยวน่าน โทร. 054-710216
วัดมิ่งเมือง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น